BrandMadeFuture logo—representing AI-powered brand consultancy focused on strategic growth, content branding, and visual identity systems.
BrandMadeFuture logo—representing AI-powered brand consultancy focused on strategic growth, content branding, and visual identity systems.

Performance branding strategies: unleashing exponential returns.

ในปัจจุบันการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ (Performance Marketing) สามารถนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับการสร้างแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัทต่างๆ สามารถเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกจุดสัมผัสที่เกิดขึ้นในกระบวนการโฆษณาจนกระทั่งการขายและให้บริการ

จากการสำรวจล่าสุดการสร้างแบรนด์ที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์นี้สามารถสร้างผลกำไรแก่ธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 30% และรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึง 10% โดยไม่ต้องเพิ่มงบประมาณการตลาด ซึ่งสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีสร้างแบรนด์ผ่านการตลาดแบบประเมิณผลตอบแทนโดยรวมจากการลงทุน (MROI : Marketing Return On Investment) ที่เป็นมาตราฐานแต่เดิมอย่างมาก

ข้อจำกัดการตลาดแบบวัดผลตอบแทนโดยรวม (MROI)


➊ การวัดผลที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง

  • Performance Marketing จะวัดผลจากการกระทำเฉพาะ เช่น การคลิก, การลงทะเบียน, หรือการซื้อสินค้า ทำให้สามารถวัดผลได้ทันทีและตรงไปตรงมา
  • MROI มักจะใช้เพื่อประเมินผลกระทบรวมของการลงทุนทางการตลาด แต่บางครั้งการวัดผลนี้อาจไม่สามารถแยกแยะหรือวัดผลกระทบจากกิจกรรมการตลาดเฉพาะได้อย่างแม่นยำ


➋ การวัดผลระยะสั้น

  • Performance Marketing เน้นการกระทำที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เช่น การซื้อสินค้าในทันที การคลิกโฆษณา และกิจกรรมที่สามารถนำมาวัดผลได้ทันที
  • MROI อาจมีการคำนวณผลลัพธ์ที่ยาวนานขึ้น เช่น การสร้างแบรนด์, การเสริมสร้างความภักดีของลูกค้า ซึ่งอาจไม่สามารถวัดผลในระยะสั้นได้


➌ ค่าใช้จ่ายและการลงทุน

  • Performance Marketing มักใช้แบบการจ่ายตามผลลัพธ์ (Pay-per-click, Pay-per-action) ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตามผลลัพธ์ได้ทันที
  • MROI มักจะใช้ในการวัดผลของการลงทุนในเชิงรวมและมีค่าใช้จ่ายที่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้หรือกำไร ซึ่งอาจทำให้ยากในการปรับการลงทุนแบบทันที


➍ ผลลัพธ์และการคาดการณ์

  • Performance Marketing มุ่งเน้นที่การสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้และสามารถวัดได้ในทันที เช่น การเพิ่มจำนวนลูกค้าหรือการสร้างยอดขาย
  • MROI แม้จะมุ่งเน้นที่ผลตอบแทนจากการลงทุน แต่บางครั้งอาจยากในการคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการสร้างแบรนด์หรือการลงทุนในกลยุทธ์ที่ยั่งยืน


➎ การตอบสนองต่อตลาด

  • Performance Marketing มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เนื่องจากสามารถมองเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีและปรับกลยุทธ์ได้ตามสถานการณ์
  • MROI อาจไม่สามารถปรับตัวได้เร็วเท่ากับ Performance Marketing เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกและระยะเวลาในการคำนวณผลกระทบจากการลงทุน

ปัจจัยที่ผลักดันให้ Performance Branding เติบโต?


➊ Performance Marketing โฟกัสที่ช่องทางการขาย

กลยุทธ์ Performance Marketing มักมุ่งเน้นไปที่การตลาดในช่วงท้ายของช่องทางการขาย (Late-Funnel Marketing) ซึ่งแม้ว่าจะมีข้อดีในแง่ของการกระตุ้นให้เกิด Conversion หรือการปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่แนวทางนี้มักจะละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนอื่นๆ ในกระบวนการขายเลย

ซึ่งทำให้สูญเสียคุณค่าแบรนด์ที่แท้จริง และลดศักยภาพในการสร้างลูกค้าใหม่ในระยะยาว ในส่วนนี้จึงจำเป็นต้องพึ่งพาหลักการสร้างแบรนด์ที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ Performance Branding เข้าช่วย


➋ ข้อมูลในอดีตอาจให้ข้อมูลเชิงลึกที่ล้าสมัย

แม้ว่าการติดตามและรวบรวมข้อมูลจะมีความแม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ การมีข้อมูลอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป ตัวอย่างเช่น ระบบแนะนำสินค้าแบบเดิมอาจเสนอ “ลูกฟุตบอลประเภทต่าง ๆ” ให้กับลูกค้าที่เพิ่งซื้อบอลไปแล้ว ซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมการซื้อจริง

สิ่งที่ควรทำคือ แนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่สูบลม ชุดกีฬา หรือรองเท้าสตั๊ดรุ่นใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำและเพิ่มยอดขายในอนาคต อย่างไรก็ตาม Performance Marketing มักใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์อนาคต ซึ่งอาจทำให้กลยุทธ์ล้าหลังและพลาดโอกาสในการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับแบรนด์ Performance Branding จึงเป็นแนวทางที่สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


➌ ความแตกต่างระหว่าง MROI และการดำเนินกลยุทธ์

โดยทั่วไป Marketing ROI (MROI) มักถูกวัดจากส่วนต่างระหว่างการเติบโตของยอดขายกับงบประมาณที่ใช้ในการทำการตลาด อย่างไรก็ตาม สูตรนี้มองข้ามประเด็นสำคัญไป นั่นคือ ผลตอบแทนจากการตลาดไม่ได้สะท้อนออกมาในระยะสั้นเสมอไป

ลองดูตัวอย่างของแบรนด์อย่าง Under Armour, Puma, Nike และ Adidas แบรนด์เหล่านี้ไม่ได้วัด ROI จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาจาก สัดส่วนของทีมกีฬาที่พวกเขาสนับสนุนในลีกระดับโลก ซึ่งเป็นกลยุทธ์สร้างแบรนด์ระยะยาวที่ช่วยให้แบรนด์มีมูลค่าและความแข็งแกร่งในตลาด

ดังนั้น MROI แบบดั้งเดิมอาจไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ระยะยาวของการสร้างแบรนด์ได้ และนี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Performance Marketing มักถูกให้ความสำคัญมากกว่าการสร้างแบรนด์ ทั้งที่ในความเป็นจริง Brand Marketing มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจ


➍ ขาดการปรับแต่งแบบเรียลไทม์

อีกหนึ่งปัญหาของการตลาดแบบดั้งเดิมคือ การขาดการปรับแต่งกลยุทธ์แบบเรียลไทม์ เนื่องจากตลาดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน แต่ งบประมาณการตลาดส่วนใหญ่มักไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ทันท่วงที

ลองดูตัวอย่างของ Stanley Cups แก้วน้ำที่ดูเหมือนจะกลายเป็นไอเท็มยอดนิยมของอเมริกาไปอีกหลายปี แต่กลับเสื่อมความนิยมลงภายในเวลาไม่กี่เดือน ทำไม? เพราะกลยุทธ์แบรนด์ของมัน ไม่ครอบคลุมทุกมิติ กลยุทธ์การตลาดไม่ได้คำนึงถึง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความตื่นตัวและตระหนักรู้มากขึ้น

ดังนั้น หาก Performance Marketing และ Brand Marketing ถูกนำไปใช้แยกจากกันโดยไม่มีการบูรณาการ ธุรกิจอาจขาดแนวทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคที่ตลาดมีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ทำไมต้อง Performance Branding?

Performance Branding มีแนวทางที่แตกต่างออกไป โดยมองตลาดเป็นการแข่งขันที่มีผู้ชนะสองฝ่าย การแข่งขันนี้เกิดขึ้นระหว่าง “อัตลักษณ์ของแบรนด์” กับ “ความสามารถในการสร้างอิทธิพลต่อเส้นทางการตัดสินใจซื้อในระยะสั้น” แนวทางนี้ช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างสมดุลระหว่าง การสร้างแบรนด์ระยะยาว และ การกระตุ้นยอดขายในระยะสั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าทำไมแนวคิดนี้จึงได้ผล!


➊ ผสานจุดแข็งการตลาดทั้งสองด้าน

Performance Branding ผสมผสานข้อดีของ Performance Marketing และ Brand Marketing เข้าด้วยกัน โดยตระหนักว่าการเติบโตแบบ ออร์แกนิกในระยะยาว นั้นสำคัญพอ ๆ กับ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางการลงทุนในช่องทางการตลาดระยะสั้น

ตัวอย่างเช่น แนวทางนี้ให้ความสำคัญทั้งกับการตลาดที่เน้นคุณภาพเนื้อหา (Content Marketing) ผ่านการทำเวปไซต์ให้ติดอันดับผลการค้นหา (SEO) และ การโปรโมทแบบชำระเงินให้เวปไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหาเรา (Backlinking) ที่สร้างสรรค์ ซึ่งช่วยให้แบรนด์สามารถแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น การเติบโตในระยะยาว และ การกระตุ้นผลลัพธ์ในระยะสั้น ได้อย่างสมดุล


➋ การปรับตัวที่สอดคล้องกับกฎระเบียบ

คุณอาจเคยได้ยินว่า เวปไซต์คุกกี้ (ไฟล์ที่เก็บข้อมูลผู้เข้าชมเวปไซต์)กำลังจะหมดไป หลายๆ เครื่องมือค้นหาเริ่มลบตัวติดตามข้อมูลแล้ว และเร็วๆ นี้ Google ก็จะทำเช่นเดียวกัน ดังนั้น Performance Branding จึงต้องการให้บริษัทต่างๆ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การเก็บข้อมูลไปในทิศทางที่สอดคล้องกับข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและกฎหมายการคุ้มครองข้อมูล

หมายความว่าบริษัทต้องให้ความสำคัญกับการสร้างอัตลักษณ์แบรนด์เท่ากับที่พวกเขามุ่งเน้นการกระตุ้นยอดขายในทันทีผ่านการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Growth Hacking)

นอกจากนี้การตลาดในขั้นตอนกลางและล่างของช่องทางการตลาดก็ยิ่งมีความสำคัญและต้องการมากขึ้น โดยเนื้อหาทั้งสองประเภทนี้ช่วยให้บริษัทสามารถ ให้ความรู้แก่ลูกค้า และ สร้างความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อ สิ่งนี้ยังต้องการให้ทีมการตลาดสร้างกราฟอัตลักษณ์ลูกค้าเพื่อเข้าใจรายละเอียดในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น


➌ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลธุรกรรมระดับบุคคล

ในขณะที่วิธีการเก็บข้อมูลที่ผิดกฎหมายกำลังหมดไป กลยุทธ์การเก็บข้อมูลที่ทันสมัยและถูกกฎหมายกลับกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าช่วยให้องค์กรสามารถสร้างโปรไฟล์ของลูกค้าได้

จากนั้น พวกเขาสามารถสร้าง ปรับแต่ง และดำเนินการกลยุทธ์การตลาดประสิทธิภาพ (Performance Marketing) ไปในทิศทางที่เหมาะสมที่สุด การมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าแต่ละรายแสดงให้เห็นว่า Performance Branding ให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าในแบรนด์ Performance Branding บอกกับลูกค้าว่าแบรนด์สามารถคาดการณ์ความต้องการของพวกเขาและช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์นั้นพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการล่วงหน้า


➍ ข้อมูลการบริโภคสื่อ

เทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นในการทำการตลาดเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ทีวีในปัจจุบันสามารถติดตามและบันทึกได้ว่าโฆษณาใดที่ผู้ชมได้เห็นและดูนานเท่าใด

ข้อมูลเหล่านี้เป็นเหมือนเหมืองทองสำหรับผู้โฆษณา, เอเจนซี่, และนักสร้างสรรค์เนื้อหา ในที่นี้ Performance Branding มีความสำคัญอย่างมาก ลองจินตนาการถึงโฆษณาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับบริการหรือผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ และทิ้งข้อความที่เน้นกระตุ้นการตอบสนอง (CTA : Call-to-Action) เกี่ยวกับการลดราคาหรือข้อเสนอพิเศษไว้ที่ท้ายโฆษณา

ข้อมูลที่เก็บเกี่ยวจากโฆษณานี้และการเติบโตของรายได้ที่ตามมา สามารถช่วยให้ผู้โฆษณาเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาของโฆษณากับพฤติกรรมของลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การบอกว่า ยอดขายที่เกิดขึ้นมาจากแบรนด์เองหรือมาจากข้อเสนอพิเศษนั้นๆ ข้อมูลนี้มีคุณค่ามากโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าตลาดโฆษณาจะเติบโตในปีต่อๆ ไป


➎ ความก้าวหน้าของระบบเก็บข้อมูลลูกค้า (CDPs)

ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า (CDPs) เป็นโซลูชันที่ครบวงจรในการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายแห่งได้
– ข้อมูลจากลูกค้าเอง
– ข้อมูลจากบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้อง
– แหล่งข้อมูลภายใน
– แหล่งข้อมูลภายนอก

CDPs มอบข้อมูลที่แม่นยำที่สามารถนำมาวิเคราะห์ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้าแต่ละรายและกลุ่มลูกค้า ช่วยให้สามารถติดตามและกำหนดเส้นทางการซื้อที่แตกต่างกันซึ่งนำไปสู่การขายผลิตภัณฑ์เดียวกัน เทคโนโลยีนี้จึงมอบข้อมูลเชิงลึกระยะยาวที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับธุรกิจในเรื่องของการวัดผลตอบแทนการลงทุน (ROI) การตลาด และยังช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์


➏ การใช้ศักยภาพของ Influencer Marketing

การเติบโตของ TikTok แสดงให้เห็นถึงพลังของ influencer marketing และ Instagram ก็ไม่แพ้กัน โดยในความเป็นจริง ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าครึ่งหนึ่งพึ่งพา influencers ในการแนะนำผลิตภัณฑ์

Performance branding เน้นย้ำให้ธุรกิจนำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer marketing) มาใช้ โดยกระตุ้นให้ธุรกิจสร้างเครือข่ายของอินฟลูเอนเซอร์ และเอเจนซี่การตลาดที่เชื่อถือได้ เพื่อสร้างประสบการณ์การขายที่มุ่งเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Customer-Centric Experience)

เริ่มต้นนำ Performance Branding มาใช้ในองค์กร

ในยุคที่ธุรกิจต้องแข่งขันอย่างรวดเร็ว Performance Branding กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจน โดยการผสานกลยุทธ์แบรนด์ (Brand Strategy) เข้ากับการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ (Performance Marketing) เพื่อให้ทั้งภาพลักษณ์และผลลัพธ์ทางการตลาดเดินไปพร้อมกัน


➊ สร้างคุณค่าและอัตลักษณ์แบรนด์ที่แตกต่าง

พื้นฐานของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จคือต้องมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ทั้งตำแหน่งทางการตลาด (Brand Positioning), เรื่องราวของแบรนด์ (Brand Story) และ ภาพอัตลักษณ์ (Visual Identity) ที่สามารถสร้างการจดจำและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า


➋ วางกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

Performance Branding ใช้ ข้อมูลเชิงลึก (Data Insights) เพื่อปรับกลยุทธ์แบรนด์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การวิเคราะห์เส้นทางที่ลูกค้าใช้ตั้งแต่การเข้ามาเลือกซื้อจนกระทั่งปิดการขาย (Customer Journey), การใช้ AI วิเคราะห์พฤติกรรม และการทำ A/B Testing เพื่อให้มั่นใจว่าแบรนด์สื่อสารได้ตรงจุดและให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


➌ สร้างเนื้อหาเน้นอารมณ์ความรู้สึกกระตุ้นการตอบสนอง

เนื้อหาของแบรนด์ต้องทำหน้าที่ทั้งสร้างภาพลักษณ์และกระตุ้นยอดขาย โดยต้องมีเล่าเรื่องให้โดนใจ (Emotional Storytelling) ควบคู่ไปกับนื้อหาที่กระตุ้นการซื้อ (Conversion-Focused Content) เช่น การใช้รีวิวลูกค้า (Customer Review), ตัวอย่างกรณีศึกษา (Case Study), หรือการทำการตลาดวีดีโอ (Video Marketing) ที่โน้มน้าวและสร้างน่าความเชื่อถือ


➍ ส่งมอบประสบการณ์ที่ปรับแต่งเฉพาะบุคคล

การตลาดยุคใหม่ต้อง ปรับแต่งการสื่อสารให้ตรงกับแต่ละบุคคล (Personalization) โดยใช้ AI และ Big Data ช่วยให้แบรนด์สามารถนำเสนอสินค้า บริการ และเนื้อหาให้ตรงใจลูกค้าแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ การสร้างประสบการณ์ลูกค้า (CX : Customer Experience) ที่ราบรื่นและน่าประทับใจ ยังช่วยสร้างความภักดีระยะยาว


➎ การวัดผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การทำ Performance Branding ต้องสามารถ วัดผลที่เกิดขึ้นได้ (Measurable Impact) ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), การมีปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า (Engagement), อัตราส่วนผู้ที่ตอบสนองต่อโฆษณา (Conversion Rate) หรือ มูลค่าที่ลูกค้าจะใช้จ่ายสินค้าไปจนกว่าจะเลิกใช้ (Customer Lifetime Value) เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงแคมเปญและกลยุทธ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังที่เราได้เห็นกันมา การสร้างแบรนด์แบบ Performance Branding ได้เปิดมุมมองใหม่ให้กับทฤษฏีกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า (Sales Funnel) ก้าวข้ามการตลาดแบบเดิมๆ และช่วยให้ธุรกิจสร้างแคมเปญการตลาดที่คล่องตัวมากขึ้น แคมเปญเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็นในระยะสั้นหรือระยะยาว

พร้อมนำหลักการสร้างแบรนด์ที่เน้นประสิทธิภาพมาช่วยสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดแล้วหรือยัง? ที่ BrandMadeFuture เราช่วยคุณออกแบบกลยุทธ์แบรนด์ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในตลาดที่คุณต้องการ ด้วยทีมที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เราพร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ที่ช่วยคุณวิเคราะห์โอกาส สร้างความแตกต่างและเติบโตอย่างยั่งยืน

📩 : hello@www.brandmadefuture.com
👋 : ติดต่อรับคำปรึกษา

มาร่วมกันสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพและสะท้อนผลลัพธ์ที่วัดได้กับเรา 🚀✨

sources
  • https://www.mckinsey.com/capabilities/growth-marketing-and-sales/our-insights/performance-branding-and-how-it-is-reinventing-marketing-roi
  • https://www.marketingtechnews.net/news/how-performance-branding-is-reinventing-marketing-roi/
  • https://www.leansummits.com/performance-branding-has-broken-marketing-roi-and-its-a-good-thing/

Share
Tags
Portrait illustration of Narathip, lead brand strategist at BrandMadeFuture, specializing in growth branding, AI brand systems, and strategic brand identity
Narathip  Wungdeelert  (P)
ผู้ก่อตั้ง BrandMadeFuture ที่ปรึกษาด้านแบรนด์เชิงกลยุทธ์ เชี่ยวชาญการสร้างและบริหารแบรนด์ รวมถึงเป็นวิทยากรและอาจารย์พิเศษที่ให้ความรู้กับผู้ประกอบการและธุรกิจต่างๆ
Don't miss key brand insights!📍
สมัครรับอัพเดทข่าวสาร เทรนด์และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับแบรนด์จากเราตอนนี้
Text-based visual displaying “Future-Driven Brand Consultancy®” highlighting BrandMadeFuture’s AI-powered growth branding approach
92% of consumers say a positive experience makes them more likely to buy again.
(Salesforce, 2023)
91% of consumers would buy from an authentic brand.
(Adweek, 2015)
86% of consumers are willing to pay more for a great customer experience.
(PwC, 2024)
77% of consumers buy from brands that share their values. 
(Havas Group, 2023)
77% of consumers buy from brands that share their values. 
(Fox+Hare, 2024)
23% average revenues increase through consistent brand presentation across all platforms.
(Forbes, 2021)
BrandMadeFuture
This website uses cookies.
We use cookies to enhance your browsing experience, analyze site traffic, and understand visitor behavior.